หน้าหลัก |  สนทนา พ่อ แม่ ลูก |  เล่าเรื่องสมัยเรียนอนุบาล |  ติดต่อลงโฆษณา |  ติดต่อ Anubarn.com  
 
 
ประเภท
ถนน
จังหวัด
     
 

ข้อบ่งชี้สำหรับตรวจหาความบกพร่องในการเรียนเฉพาะด้าน

           ข้อบ่งชี้ว่าเด็กมีความบกพร่องในการเรียนเฉพาะด้าน คือ

1. เด็กคนนั้นไม่สามารถประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบอายุกับระดับความสามารถในหนึ่งหรือสองข้อของสิ่งที่ได้กล่าวถึงในข้อ 2 ทั้งๆที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมตามอายุและระดับความสามารถ

          2. เด็กคนนั้นมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างความสำเร็จและเชาวน์ปัญญาในหนึ่งข้อหรือมาก กว่าในสิ่งเหล่านี้

  • การแสดงออกทางคำพูด
  • การเข้าใจจากการฟัง
  • การแสดงออกทางการเขียน
  • ทักษะพื้นฐานของการอ่าน
  • การเข้าใจทางการอ่าน
  • การคำนวณทางคณิตศาสตร์
  • การใช้คณิตศาสตร์ในการให้เหตุผล

          โดยกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดว่า ถ้าความแตกต่างกันระหว่างความสามารถกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากความบกพร่องทางการ มองเห็น การได้ยิน กล้ามเนื้อ ปัญญาอ่อน อารมณ์ที่ผันผวนผิดปกติ หรือเกิดจากการขาดแคลนสิ่ง แวดล้อมทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม จนทำให้ไม่สามารถใช้สมองได้เต็มตามศักยภาพแล้ว ถือว่าไม่จัดเป็นความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี

          มีคำถามว่าเราสามารถสังเกตเห็นหรือวินิจฉัยว่าเด็กมีความบกพร่องในการเรียนรู้ได้เมื่อเด็กอายุประมาณเท่าไร และทำอย่างไรจึงจะให้พ่อแม่และครูเข้าใจว่าเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้มีความยาก ลำบากในการเรียนรู้ ตรงนี้ต้องระวังมากในการประทับตราว่าเด็กมีความบกพร่องในการเรียนรู้ เพราะเด็กที่อายุน้อยกว่า 8-9 ขวบ จะยังมีการพัฒนาสมองเกิดขึ้นอีกมาก เราจึงยังไม่บอกว่าเด็กมีความบกพร่องในการเรียน รู้จนกว่าเด็กจะขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ช่วยเด็กก่อนหน้านี้ เพราะเด็กบางคนอาจจะมีความบกพร่องในการเรียนรู้มากจนเราเห็นได้ว่ามีปัญหา เราจึงช่วยเขาก่อนจะขึ้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

          นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้พ่อแม่และครูรู้ว่าเด็กเป็นผู้ที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ คือ ต้องเสนอแนวคิดผ่านไปทางสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ที่ให้ดูเกี่ยวกับทอม ครู๊ส และแชร์ ว่าเป็นผู้ที่มี ปัญหาทางการอ่าน หรือใช้รายการทอล์กโชว์ดังๆ ทั้งหลายในทีวีพูดเรื่องเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์หรืออาจ ส่งเอกสารความรู้เกี่ยว กับความบกพร่องในการเรียนรู้ไปให้ทางโรงเรียน หรือก็ค่อยๆ สอดใส่ความรู้เรื่องความบกพร่องในการเรียนรู้ลงในคอลัมน์เล็กๆ ในวารสารของโรงเรียน เป็นต้น

 
 
     
   

 

  

     
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
 
ติดต่อ Anubarn.com
โทร.081-343-2101 อีเมล์: info@anubarn.com

Copyright 2006 by Anubarn.com