หน้าหลัก |  สนทนา พ่อ แม่ ลูก |  เล่าเรื่องสมัยเรียนอนุบาล |  ติดต่อลงโฆษณา |  ติดต่อ Anubarn.com  
 
 
ประเภท
ถนน
จังหวัด
     
 
บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructivism


การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructivism จะดีที่สุดสำหรับห้องเรียนที่มีเด็ประมาณ 20 คน แต่อย่างไรก็ดียังสามารถใช้ได้กับห้องเรียนที่มีเด็ก 60-70 คน ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ยากสำหรับครูก็ตาม

          พฤติกรรมที่สำคัญสำหรับครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructivism คือ

          1. ครูจะต้องดึงความรู้เดิมของผู้เรียนออกมาให้ได้ว่าผู้เรียนมีความรู้เดิมอะไรอยู่บ้างแล้ว

          2. จากนั้นครูต้องสร้างสิ่งกระตุ้นที่ท้าทายผู้เรียน ให้เขาตั้งสมมุติฐาน ตั้งคำถาม และคิดทบทวนว่าความรู้เดิมที่เขามีอยู่คืออะไร ครูต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างคำถาม ตั้งสมมุติฐาน และหาวิธีที่จะตอบคำถามนั้นให้ ได้

          3. ครูต้องสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ไม่ใช่ให้นั่งดูเฉยๆ ผู้เรียนจะทำอะไรก็ทำไป ครูต้องเน้นถึงกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ

          ครูจะทำอย่างไรจึงจะรู้ได้ว่าผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และมีการเรียนรู้เกิดขึ้น ครูจะรู้ได้โดยให้ผู้เรียนแสดงออก บางครั้งครูอาจตั้งคำถามและบอกให้ผู้เรียนเขียนและยกคำตอบขึ้นมา หรือบางครั้งอาจจะให้ผู้เรียนบอกเพื่อนข้างๆ หรือให้ผู้เรียนถกปัญหากันเองในกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้น เพราะการที่ครูมองหน้าผู้เรียนเพื่อจะหาคำตอบว่ารู้เรื่องที่พูดถึงหรือไม่ ครูจะไม่ได้รับคำตอบ ดังนั้น ครูจึงต้องหาวิธีที่จะดึงสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ออกมา และครูจะต้องทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการ ที่ต้องคิดและพูดในเรื่องที่ครูได้พูดและแสดงออกมาในรูปแบบใดก็ ได้ ว่ากำลังเรียนรู้

          4. ครูที่จัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructivism ต้องวางแผนการสอนอย่างมากที่จะคิดคำถามล่วงหน้าเพื่อที่จะถามผู้เรียนเพื่อให้เขาได้แสดงออก และควรจดลงในแบบเตรียมการสอนด้วยโดยคำกริยาที่ครูควรใช้ในการตั้งคำถามกับผู้เรียน คือ วิเคราะห์
ตั้งสมมุติฐาน ทำนาย ประเมิน เปรียบเทียบ สร้างสรรค์ เพราะคำกริยาต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความ
คิดที่ลึกซึ้ง คิดวิเคราะห์และหาทางพิสูจน์มากขึ้นกว่าการใช้คำว่า บอกมา บ่งชี้มา หรืออธิบายมา คำถามที่ใช้คำกริยาเหล่านี้เป็นคำถามที่เด็กปั..าเลิศจะลุกขึ้นตอบ และจะกระตุ้นให้เด็กทั่วๆ ไปคิดมากขึ้น ไม่ใช่ให้เด็กนั่งเฉยๆ แล้วครูคิดว่ามีอะไรที่จะต้องให้เด็กท่องจำ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะต้องเป็นเช่นนั้นแต่ไม่ใช่การสอนทั้งหมด

          การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructivism จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และสามารถสร้างงานออกมาจากการเรียนรู้นั้น ครูจะต้องไม่ทิ้งหลักสูตรทั้งหมดและไม่ใช่สอนเฉพาะสิ่งที่ผู้เรียนสนใจเท่านั้น เนื่องจากผู้เรียนไม่ได้ สนใจว่าหลักสูตรเป็นอย่างไร แต่ครูต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ครู
จะสอน ไม่ใช่เอาความสนใจของผู้เรียนมานำสิ่งที่ครูจะสอน ต้องใช้วิธีการสอนที่กระตือรือร้น ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีการซักถาม มีลักษณะการคุยกันเป็นสังคม จัดห้องเรียนที่ให้ผู้เรียนสามารถแสดงออก พูดคุยระหว่างกัน สามารถทบทวน สะท้อนความคิดออกมาให้เห็นว่าเกิดการเรียนรู้

          5. ครูจะต้องให้เวลาผู้เรียนที่จะทำงานคนเดียว หรือทำงานกับเพื่อน หรือทำงานเป็นกลุ่ม และต้องให้มีการติดต่อเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ติดต่อกับโลกความเป็นจริงด้วย ต้องเน้นว่าสิ่งที่เรียนรู้เชื่อมโยงกัน
อย่างไร และเชื่อมโยงกับความเป็นจริงในโลกของเขาอย่างไร

          วิธีการหนึ่ง คือ จัดกลุ่มผู้เรียนกลุ่มเล็กๆ อาจจะประมาณ 4-5 คนต่อกลุ่ม และมอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องบอกด้วยว่างานนั้นคืออะไร กำหนดหน้าที่และมอบหมายหน้าที่ให้ทำ เช่น เป็นคนเขียน เป็นคนจับเวลาเป็นต้น ครูต้องช่วยประสานงานให้งานดำเนินไปได้ ต้องสอนบทบาทเมื่อ อยู่ในกลุ่มว่าต้องมีบทบาทอะไร ซึ่งถ้าไม่ทำเช่นนั้น อาจทำให้ผู้เรียนลอยละล่องหลุดออกไปจากสิ่งที่แนะนำ หรือผู้เรียนฟังคำชี้แจงแล้วไม่ทำงาน ฉะนั้นจึงต้องเน้นบทบาทของผู้เรียนให้ชัดเจนในกลุ่ม และให้โอกาสเขาสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน และหาแนวทางว่ากลุ่มจะไปในแนวทางไหน เพราะถ้าไม่มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันในกลุ่มแล้ว จะพบว่าการเรียนรู้จะไม่เกิด แต่ถ้าเขาสามารถทำเป็นกลุ่มเรียนรู้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นดีมากกว่าการที่ครูจะพูดและเด็กนั่งนิ่งๆ คนเดียวหรืออ่านหนังสือคนเดียว

          6. เทคนิคการสอนของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructivism คือ

          การสอนบรรยายในขณะที่บรรยาย ครูอาจจะหยุดบอกผู้เรียนให้จดสิ่งสำคัญที่ครูพูดไป และให้ผู้เรียนพูดคุยกับเพื่อนว่าสิ่งที่พูดไปคืออะไร

          การตั้งคำถาม ให้ผู้เรียนพูดคุยกันถึงสิ่งที่พูด และถามตอบกันเองในกลุ่มเล็กๆ

          การให้เด็กทำนาย โดยการเล่านิทาน หลังจากนั้นหยุดให้ผู้เรียนทำนายว่าตอนจบของเรื่องจะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งให้บอกเหตุผลว่าทำไมจึงทำนายอย่างนั้น

          การวิเคราะห์ เช่น การสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศหนึ่ง ครูให้การบ้าน ให้ผู้เรียนไปอ่านเกี่ยวกับพลเมืองโดยมีข้อมูลเบื้องต้นอยู่ในหนังสือ เมื่อเขามาโรงเรียน ให้เขาทำเป็นรายงาน
ในชั้น เป็นการนับพลเมืองและให้กำหนดแนวนโยบายของประเทศนั้น สิ่งที่ครูใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าพลเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

 
     
   

 

  

   
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
 
ติดต่อ Anubarn.com
โทร.081-343-2101 อีเมล์: info@anubarn.com

Copyright 2006 by Anubarn.com